หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

๕.๓
ในครั้งแรกของการค้นพบหลุมดำ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เองก็
ไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปได้ เพราะหลุมดำทำตัวผิดกฎของจักรวาล ทุกสิ่งในจักรวาลควรจะยุ่งเหยิงมากขึ้นๆ แต่หลุมดำกลับทำให้สิ่งต่างๆ มารวมกัน เปรียบเสมือนไข่ที่ตกแตกกระจายลงพื้นถูกดูดกลับให้ชิ้นส่วนต่างๆ มารวมกันเป็นไข่ใบเดิมได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับจักรวาล หลังจากระเบิดเป็นบิ๊กแบง
ก็เปรียบเสมือนไข่ที่แตกแล้ว แต่หลุมดำทำหน้าที่รวบรวมมวลที่กระจัดกระจายนั้นกลับมาอีกครั้งเพื่อให้เหมือนกับเมื่อครั้งก่อน
เกิดจักรวาล แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าภายในหลุมดำน่าจะมีความไร้ระเบียบสูงที่สุด เพราะมันฉีกสิ่งต่างๆ เข้ามารวมกันไว้ที่ตัวมัน (ลองเปรียบเทียบการฉีกหนังสือในห้องสมุดทั้งหมดแล้วขยำรวมกันเป็นก้อนเล็กๆ) ดังนั้น ขนาดที่เล็กลง ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบมากขึ้นเสมอไป
การที่ไฮโดรเจน 2 อะตอมมารวมกันเป็นฮีเลียม อะตอมจะใหญ่ขึ้น นิ่งขึ้น ความไร้ระเบียบลดลง แต่มันก็ต้องคายพลังงาน
ออกมาจำนวนมหาศาล เพื่อไปทำให้สิ่งแวดล้อมยุ่งเหยิงแทน เช่น ดวงอาทิตย์เรากำลังเกิดปฎิกิริยานี้อยู่ จึงปล่อยความร้อน
ออกมาได้อยู่ตลอดเวลาทำให้โลกเกิดวิวัฒนาการ มีอนิจจัง 
ทุกขัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ โลกก็จะเป็นเพียงดวงดาวที่เย็นชืด เงียบสนิท ดวงหนึ่ง เท่านั้น หรือจะสรุปง่ายๆ ว่า ความยุ่งเหยิงของดวงอาทิตย์ที่ลดลงจากปฎิกิริยาฟิวชั่น
ส่งผลมาทำให้โลกเกิดความยุ่งเหยิงมากขึ้นก็ได้ สักวันหนึ่ง
เมื่อดวงอาทิตย์หมดพลัง มันก็หดตัวกลายเป็นดาวเเคระขาวที่ยิ่งมีระเบียบมากขึ้นไปอีก มวลสารจะมีความเป็นระเบียบ
สูงกว่า พลังงาน ตามสูตร E=mc2 แสดงให้เห็นว่ามวล
(M) สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงาน (E) ได้ หลังจากที่เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นเรียบร้อย ความเป็นระเบียบของอะตอมมากขึ้น แต่มันก็จะไปเพิ่มความไร้ระเบียบให้กับสิ่งแวดล้อม แล้วการแปลงมวลสารส่วนหนึ่งไปเป็นพลังงานความร้อน ขณะนี้ทุกๆ 1 วินาที
จะมีมวลสารบนดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปเป็นพลังงานถึงประมาณ 200 ล้านตัน ตัวเราเองก็เช่นกัน ที่คงสภาวะความมีระบบ
ระเบียบ เติบโตจนสูงใหญ่ขึ้นมาได้ ก็ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม
ไปมากมาย เช่น พืช ผัก หมู เห็ด เป็ด ไก่ ที่รับประทานเข้าไป แล้วถูกย่อยสลายจนอยู่ในสภาพไร้ระเบียบ ชีวิตหนึ่งเกิดมา ก็ต้องทำลายอีกหลายๆชีวิต เพื่อสร้างความมีระเบียบให้กับ
ตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเสียชีวิตลง มนุษย์ก็จะคืนความไร้ระเบียบกลับไปใหสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยสรุปก็คือ จักรวาลโดยรวมจะมีทิศไปในทางที่ไร้ระเบียบมากขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับการค้นพบของพระพุทธองค์ว่า "สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง"

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

๕.๒
ความไร้ระเบียบของระบบเป็นตัวกำหนดเวลา เช่น ถ้ามีรูปภาพ
๒ รูป รูปที่ ๑ เป็นแก้วที่แตกเป็นชิ้น รูปที่ ๒ เป็นแก้วใบเดียวกันที่สมบูรณ์ดี เราจะบอกได้ทันทีเลยว่า รูปแก้วที่แตกจะต้องถ่ายทีหลัง เป็นไปไม่ได้ที่แก้วแตกจะเกิดขึ้นก่อน แล้วรวมตัวกัน
เชื่อมเป็นแก้วที่สมบูรณ์ นั่นก็เพราะเรารู้ว่า จักรวาลมีทิศทาง
ไปข้างหน้าพร้อมกับความไร้ระเบียบที่เพิ่มขึ้นเสมอ
การที่ความโน้มถ่วงเข้ามาจัดระเบียบจักรวาล จึงสวนทิศทาง
ของธรรมชาติ ดังนั้น ทุกครั้งที่จัดระเบียบจะต้องมีการคายพลังงานออกมา พลังงานตัวนี้จะไปทำให้ระบบภายนอก
ยุ่งเหยิงมากขึ้น เช่นเดียวกับตู้เย็นสามารถทำให้น้ำกลาย
เป็นน้ำแข็งซึ่งมีระเบียบมากขึ้น แต่คอมเพรสเซอร์
จะดูดความร้อนไปปล่อยออกนอกตู้ ทำให้ด้านนอกร้อน
และยุ่งเหยิงมากขึ้น จักรวาลมีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่ความยุ่งเหยิงหรือไร้ระเบียบมากขึ้นเสมอ ห้องที่ถูกทิ้งไว้จะรกขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อไรที่มีการจัดห้อง ถือว่าเป็นการสวนทิศของจักรวาล แต่อย่างไรก็ตาม การจัดห้องจะต้องใช้พลังงาน เช่น 
จัดห้องเสร็จ ต้องไปทานอาหาร ซึ่งไปทำให้อาหารย่อยสลาย
และยุ่งเหยิงมากขึ้น จากชิ้นเนื้อ ผัก เป็นต้น ข้าวเป็นเมล็ดกลับกลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่วุ่นวายสับสน ดังนั้น การจัดห้องแม้จะทำให้ห้องเป็นระเบียบมากขึ้น แต่ก็ไปทำให้อาหารไร้ระเบียบ
เมื่อรวมกันแล้วการ ไร้ระเบียบในจักรวาลจะเกิดขึ้นมากว่า
จิตก็เช่นกัน จะมีความยุ่งเหยิง ไร้ระเบียบขึ้นเรื่อยๆ เมื่อฝึกปฎิบัติสมาธิวิปัสสนา จิตเป็นระเบียบมากขึ้น แต่ก็ต้องสูญเสีย
กำลังสติไปกับการจัดระเบียบนั้น จะต่างกันก็แต่ความยุ่งเหยิงทาง กายภาพเกิดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น แต่ความยุ่งเหยิง
ภายในจิตเกิดจากความร้อนรุ่ม อันเนื่องมาจากกิเลส ตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ 
การสวนทิศกฎข้อนี้ของจักรวาลต้องใช้พลังงานสูงมาก เช่นที่มี
คำพูดอมตะประโยคหนึ่งที่ว่า "กรุงโรมไม่สามารถสร้างในวันเดียว แต่สามารถทำลายได้ภายในวันเดียว" นั่นก็เพราะการสร้างใหมีระเบียบเป็นการสวนกระแสแห่งจักรวาล ส่วนการทำลายให้ไร้ระเบียบมากขึ้นเป็นสิ่งที่จักรวาลต้องการอยู่แล้ว 
เหมือนกับไข่ฟองหนึ่งกว่าแม่ไก่จะสร้างขึ้นมาได้ต้องใช้เวลา
นับสัปดาห์ แต่เมื่อมันตกถึงพิ้นก็จะกระจายภายใน
เสี้ยววินาที และถ้าใครที่คิดจะรวบรวมไข่ที่ตกแตกแล้ว
มาทำให้เป็นไข่ ฟองเหมือนเดิม ต้องใช้พลังงานและความพยายามอย่างมหาศาลจนเรียกได้ว่าทำไม่ได้เลย เพราะทุกโมเลกุลกระจัดกระจายเกินกว่าจะรวบรวม

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

๕.๑ ถ้าเทียบอิทธิพลของดวงดาวคือความโน้มถ่วง เจ้าพ่อในจักรวาล
ก็คือดาวที่มีความโน้มถ่วงสูงกว่าดาวดวงอื่น แล้วดึงให้ดาวลูกหมุนโคจรอยู่รอบๆ ในระบบสุริยะเรามีดวงอาทิตย์เป็นผู้มีอิทธิพล แต่ดวง
อาทิตย์เองก็ต้องไปสวามิภักดิ์โคจรรอบหลุมดำ ในดาราจักรทางช้างเผือกจึงมีการหมุนวนย่อยๆ อยู่เต็มไปหมด แต่การหมุนวนที่เป็นหลักใหญ่ก็คือ การหมุนแบบย่อยๆทั้งหมดต้องโคจรรอบๆ หลุมดำที่อยู่เป็นแกน ณ จุดกึ่งกลางของดาราจักร
สมมติว่า ดวงอาทิตย์เป็นส้มโอที่วางบนผ้ายางขึงตึง จนเป็นรอยบุ๋มลงไป ถ้าดีดลูกแก้วเข้าไปจะพบว่า ลูกแก้วจะค่อยๆ หมุนวนรอบรอยบุ๋มนั้น แล้วเข้าไปหาส้มโอในที่สุด คำถามคือว่า แล้วทำไมโลกจึงไม่หมุนวนเข้าหาดวงอาทิตย์ นั่นก๊เพราะว่า ขณะที่ลูกแก้วหมุนจะถูกแรงเสียดทานจากพื้นทำให้ความเร็วตกลงเรื่อยๆ จึงหล่นเข้าหาส้มโอ แต่ในอวกาศไม่มีแรงเสียดทาน ความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตยืไม่ตก ทำให้โลกหมุนอยู่ในระดับเดิมอยู่ตลอด
ภายในระบบสุริยะของเรา ดาวพฤหัสทรงอิทธิพลที่สุด ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของมัน ทำให้ความโน้มสูง กาล-อวกาศบริเวณนั้นบิดเบี้ยวเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นผลดีโดยตรงต่อโลกของเรา
ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์วงนอก ขณะที่โลกเราอยู่วงใน
ดังนั้น เมื่อมีอุกกาบาตขนาดใหญ่ลอยเข้ามา จะถูกแรงโน้มถ่วง
จากดาวพฤหัสเหวี่ยงออกไป หรือไม่ก็ถูกดูดให้ตกลงที่พื้นผิว
ดาวพฤหัสเสียเอง อุกกาบาตขนาดใหญ่จากนอกระบบสุริยะจึงไม่สามารถเข้ามาทำร้ายดาวเคราะห์วงในได้ง่ายๆนัก อุกกาบาตใหญ่
สุดถูกสุดท้ายที่ตกลงสู่โลกคือ เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ซึ่งครองโลกมานานกว่า 100 ล้านปีสูญพันธุ์ทั้งหมด
หลังจากนั้นโลกก็สงบสุข จนมีมนุษย์ขึ้นมาครองโลกแทนเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา ถ้าเทียบกับช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์สามารถครองโลกได้นับ 100 ล้านปีก่อนจะสูญพันธุ์ ซึ่งยาวนานมาก คำถามคือว่า มนุษย์สามารถทำลายสถิตินั้นได้หรือไม่