๖.๑ความโน้มถ่วงกับเวลา
ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์บอกว่า ยิ่งมี " ความเร็วสูง " หรือ "ความโน้มถ่วงสูง" เวลายิ่งเดินช้าลง เช่น ยิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เวลาจะยิ่งเดินช้าลง หรือขึ้นยานอวกาศความเร็วสูง เวลาบนยานก็จะช้ากว่าเวลาบนโลก คนที่อาศัยบนคอนโดชั้น 2 ตามทฤษฎีแล้ว เวลาในห้องจะเดินช้ากว่าคนที่อาศัยอยู่ ณ ชั้น 20 เพราะชั้น 2 ได้รับอิทธิพลจากสนามความโน้มถ่วงของโลกสูงกว่า แรงโน้มถ่วงที่สูง เวลาที่เดินช้าลง จะทำให้สมองและร่างกายทำงานช้าลงด้วย
ถ้ามองตามทฤษฎีสัมพัทธภาพคนที่อยู่บนตึกชั้นสูง น่าจะทำงานได้ดีกว่าตึกชั้นต่ำ แต่เนื่องจากความโน้มถ่วงต่างกันน้อยมาก จนไม่มีนัยสำคัญที่จะมาคิดเช่นนี้ถ้าความโน้มถ่วงต่างจากโลกมาก เช่น บริเวณหลุมดำ นักบินที่นำยานอวกาศเฉียดเข้าเส้นขอบฟ้าของหลุมดำเพียง
1 วัน เมื่อกลับมาโลกจะพบว่าเวลาบนโลกผ่านไปแล้วนับแสนปีเลยทีเดียว ดาวบางดวงที่มีมวลมากๆ ความโน้มถ่วงสูง เวลาอาจยืดยาวกว่าบนโลก 2 เท่า ถ้ามีนักบินอวกาศไปที่ดาวดวงนั้นแล้วจะประกอบที่พัก
ซึ่ง ถ้าประกอบบนโลกใช้เวลาเพียง 1 วัน แต่ถ้าเขาประกอบดาวดวงนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 วัน เพราะจะเคลื่อนไหวร่างกายช้ากว่าบนโลก
2 เท่า สรุปแล้ว เวลาที่ยืดยาวกว่า ไม่ได้มีประโยชน์อะไรที่จะทำให้ได้งานมากขึ้นเลย ถ้ามนุษย์โลกไปวิ่งบนดวงจันทร์ แน่นอนว่าสามารถทำเวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการวิ่ง 100 เมตรเพราะดวงจันทร์มีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลกถึง 6 เท่า และแต่ละก้าวจะไปได้ไกลกว่าบนโลกมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าสมมติว่าดวงจันทร์มีบรรยากาศ
เหมือนโลก มีมนุษย์วิวัฒนาการเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ได้จริง แรงโน้มถ่วงที่น้อยจะทำให้กล้ามเนื้อของมนุษย์ดวงจันทร์อ่อนแอกว่ากล้ามเนื้อมนุษย์โลกมาก นั่นก็หมายความว่า สำหรับมนุษย์ดวงจันทร์ การวิ่ง 100 เมตรบนดวงจันทร์ ก็ใช้เวลาพอๆ กับการที่มนุษย์โลกวิ่งบนโลก แม้ว่าจะมีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าก็ตาม แต่เพราะแรงโน้มถ่วงที่น้อยทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอและปริมาณอออกซิเจนในอวกาศน้อยลงไปด้วย ซึ่งจะมีผลต่อขบวนการเมตาบอลิซึม
ผู้บรรลุญาณจะรู้ว่า สวรรค์ในชั้นพรหม เวลาเดินช้ากว่าบนโลกมนุษย์
หลายแสนเท่า ดังนั้น การเคลื่อนที่ของพรหมก็ช้ามากเป็นแสนเท่าเช่นกัน ในความรู้สึกของจิตมนุษย์ที่ได้เข้าไปสัมผัส จะสงสัยว่า ทำไมพรหมจึงนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวเลย ตรงกันข้ามกับนรก ซึ่งเวลาเดินเร็วเนื่องจากความร้อน จะมีแต่ความทุรนทุราย เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงในหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ได้อธิบายว่า ภพภูมิต่างๆมีความเร็วแสงไม่เท่ากัน
ถ้ามนุษย์เดินทางได้เร็วเท่าแสง สมองจะหยุดทำงาน แต่สติไม่หยุด ดังนั้น ยังสามารถรับรู้ปรากฎการณ์ภายนอกได้
ความโน้มถ่วงเกี่ยวข้องกับมวล ถ้ามวลมากก็ยิ่งทำให้กาล-อวกาศบิดเบี้ยวได้มาก ส่งผลให้ความโน้มถ่วงสูง ดังนั้น เวลาบนดวงจันทร์
จะเดินเร็วกว่าเวลาบนพื้นโลก ซึ่งเรียกว่า การบิดเบี้ยวของกาลเวลา
ถ้าดวงจันทร์ไม่หมุนรอบโลก ดวงจันทร์จะทนต่อการบิดเบี้ยวของเวลาไม่ได้ มันจะต้องตกลงสู่พื้นโลก (วัตถุจะตกจากบริเวณที่เวลาเดินเร็วไปหาบริเวณที่เวลาเดินช้า) เพื่อรวมมวลของมันเข้ากับมวลของโลก ให้อยู่ในกาลเดียวกัน แต่การที่ดวงจันทร์โคจรด้วยความเร็วรอบโลก ความเร็วนั้นจะทำให้เวลาบนดวงจันทร์เดินช้าลง (ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ)ซึ่งถ้าเวลาที่เดินช้าลงนั้นเท่ากับความบิดเบี้ยวของกาลที่เกิดจากความโน้มถ่วงของโลกดวงจันทร์ก็จะคงสถานะอยู่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น