๖.๒
นิวตันบอกว่า วัตถุที่มีมวลจะมีแรงดึงดูดระหว่างกัน แต่ไอน์สไตน์บอกว่า เป็นเพราะวัตถุทั้งสองไปทำให้กาล-อวกาศโค้งรอบๆ ตังมัน เช่น
หย่อนลูกเหล็ก ๒ ลูกลงบนผืนใบที่ขึงตึง ลูกเหล็กลูกใหญ่จะทำให้
ผ้าใบโค้งเป็นหลุมลึกกว่า ดังนั้น ถ้าอยู่ห่างกันไม่มาก ลูกเหล็กลูกเล็ก
จะวิ่งเข้าหาลูกใหญ่ สรุปก็คือ ดาวที่มีมวลมากกว่า จะทำให้กาล-อวกาศบิดเบี้ยว ส่งผลให้เวลารอบๆ ตัวมันเดินช้าลง ในขณะที่ดาวที่มีมวลน้อยกว่า จะต้องชดเชยด้วยการใช้ความเร็วเข้าช่วย เพราะความเร็วที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เวลาเดินช้าลงเช่นนั้น เช่น ดาวพุธอยู่ใกล้
ดวงอาทิตย์มาก มันจะต้องโคจรด้วยความเร็วสูงกว่า เมื่อเทียบกับโลกที่อยู่ห่างออกมา (ยิ่งใกล้ดวงอาทิตย์ กาล-อวกาศยิ่งบิดเบี้ยว) ถ้าเรียงตามลำดับ คือ ดาวพุธ ศุกร์ โลก อังคาร และพฤหัส จะมีความเร็ว
เชิงเส้นโดยประมาณในการโคจรรอบดวงอาทิตย์คือ 50 35 30 24 และ 13 กิโลเมตรต่อวินาทีตามลำดับ ส่วนดาวพลูโตซึ่งอยู่ห่างที่สุด
โคจรด้วยความเร็วเพียง 5 กิโลเมตรต่อวินาที ช้ากว่าดาวพุธถึง 10 เท่า ดาวพุธจึงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mercury ซึ่งตั้งตามนามของเทพเจ้าแห่งความเร็ว ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ เครื่องบินที่บินด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อวินาที เวลาบนเครื่องจะเดินช้ากว่าเครื่องบินที่มีความเร็ว 5 กิโลเมตรต่อวินาที ดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ความบิดเบี้ยวของกาล-อวกาศน้อย ดังนั้น ดาวพลูโตไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่เร็ว เพียงแค่ 5 กิโลเมตรต่อวินาที ก็เพียงพอแล้ว ถ้ามากกว่านั้นมันจะทะลุกาล-อวกาศ นั่นหมายถึงการหลุดออกจากวงโคจรนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น