หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ถ้ามองในมุมนี้ เราจะรู้ว่า ความโน้มถ่วงไม่ใช่แรง แต่เป็นความบิดเบี้ยวของกาล-อวกาศทำให้วัตถุเคลื่อนที่ ดังนั้นที่บอกว่า แรงในจักรวาลมี 4 แรง โดยรวมแรงโน้มถ่วงด้วย อาจจะไม่ถูกต้อง ดาวดวงใหญ่ทำให้อวกาศบริเวณนั้นบิดเบี้ยว มวลที่วิ่งผ่านจึงโค้งไปตามอวกาศเข้าหาดาวดวงนั้น ดูราวกับว่าดาวดวงใหญ่มีแรงดึงดูด เช่นเดียวกันกับพายุทอร์นาโดที่ดูดวัตถุขึ้นไปในอวกาศได้ ความจริงไม่ใช่อากาศมีแรงดึงดูด แต่เกิดจากอากาศที่บิดเบี้ยวจากการหมุน
ถ้าเทียบว่าความโน้มถ่วงทำให้เกิดปรากฎการณ์คล้ายแรงดึงดูด
ทางกายภาพ ความชอบ ความอยาก (เวทนา ตัณหา) ก็คือตัวทำให้เกิดปรากฎการณ์คล้ายแรงดึงดูดทางใจ เช่น คนที่ชอบดนตรีร็อค
จะไปรวมตัวกัน ณ สถานแสดงคอนเสิร์ต ราวกับว่าสถานที่แห่งนั้นมีแรงดึงดูด หรือขณะที่ไฟเขียวเปลี่ยนไฟเหลือง รถจะวิ่งเร็วขึ้น ราวกับว่าไฟเหลืองมีแรงดึงดูด การจะหลุดพ้นจากโลกได้ ต้องหนีความโน้มถ่วงให้พ้นฉันใดการจะหลุดพ้นจากโลกียะได้ ต้องหนีความโน้มถ่วงทางใจให้พ้นฉันนั้นาภาวะนิพพานคือการหลุดพ้นจากโลกและจักรวาลทั้งรูปและนาม โลกของเรามีธาตุหนักต่างๆ ไปรวมกันบริเวณศูนย์กลางของโลกโดยเฉพาะธาตุเหล็ก ดังนั้น แกนของโลกจะมีความหนาแน่นสูงมากเวลาบริเวณนั้นจะเดินช้ากว่าที่ผิวโลก วัตถุที่อยู่บนพื้น ถ้าเราขุดหลุมลึกลงไป วัตถุนั้นก็สามารถตกต่อลงไปได้เรื่อยๆ จนถึงแกนโลก เนื่องจากเวลาที่แกนโลกเดินช้าที่สุด (วัตถุจะตกจากบริเวณที่เวลาเดินเร็ว ไปหาบริเวณที่เวลาเดินช้า
มีข้อสันนิษฐานว่า ดวงจันทร์คือมวลของโลกที่หลุดออกไปจาก
การที่โลกถูกดาวขนาดใหญ่วิ่งเข้าชน แต่เนื่องจากผิวโลกส่วนที่หลุดเป็นชั้นเปลือกโลก ทำให้ความหนาแน่นของดวงจันทร์ต่ำ และมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบน้อย เพราะธาตุเหล็กส่วนใหญ่อยู่บริเวณใจกลางโลก นาฬิกาทรายที่ใช้หลักการทำงานเดียวกันนี้ ทรายที่อยู่ด้านบนมีมวลมาก พยายามจะไหลลงสู่ด่านล่าง เราจึงใช้เวลาได้ เช่น ทราบไหลลงมาหมดภายใน 1 ชั่วโมง ไม่ว่าเราจะเอานาฬิกาทรายอันนี้ไปวัดที่ไหนตอนไหนบนพื้นโลก มันก็จะไหลลงมาหมดภายใน 1 ชั่วโมงเช่นเดิมแต่ถ้าเอานาฬิกาทรายอันเดียวนี้ไปวัดบนดวงจันทร์
จะไม่เท่ากับบนโลก เพราะดวงจันทร์มีสนามโน้มถ่วงต่ำกว่าโลก ดังนั้น ถ้าไปวัดบนดวงจันทร์ กว่าทรายจะไหลลงมาหมดต้องใช้เวลานานกว่าบนพื้นโลก ยกตัวอย่างตัวเลขง่ายๆ สมมติว่าใช้เวลา 2 ชั่วโมงทรายจึงจะหมดจากกระเปาะบน ดังนั้น เวลาบนดวงจันทร์ 2 ชั่วโมง เท่ากับ 1 ชั่วโมงบนโลก ถ้าใช้นาฬิกาทรายเป็นบรรทัดฐานก็จะบอกไว้ว่าเวลาบนดวงจันทร์เดินเร็วกว่าบนโลก (ตัวเลขที่ยกมาเป็นเพียงสมมติเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น)

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

๖.๔ ปรากฎการณ์การตก

ถ้าสมมติว่ามีจรวดพุ่งลงสู่พื้นดาวที่มีความโน้มถ่วงสูงมาก บริเวณหัวจรวดกับท้ายจรวด จะมีเวลาที่เดินเร็วช้าไม่เท่ากัน (ท้ายจรวดเร็วกว่าหัวจรวด เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากความโน้มถ่วงน้อยกว่า) ถ้าจรวดนั้นพุ่งลงด้วยความเร่งสูงสุด เวลาที่หัวและท้ายจรวดจะต่างกันมาก ในที่สุดจะจรวดก็จะแตกออก โดยแยกเป็นหัวกับชิ้นหางออกจากกัน
เช่นเดียวกับวัตถุที่ตกจากที่สูง จะตกด้วยความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่ายิ่งใกล้พื้นโลกกาล-อวกาศยิ่งบิดเบี้ยว คือเวลายิ่งเดินช้า ทำให้
วัตถุต้องเพิ่มความเร็วเพื่อให้เวลาในตัวมันเดินช้าลงสัมพันธ์กับเวลา
บนผิวโลก (ยิ่งเร็วเวลายิ่งเดินช้า) จนเมื่อมันตกถึงพื้นโลก มวลของมัน รวมเป็นเนื้อเดียวกับมวลโลก จึงหยุดเคลื่อที่สำหรับหยดน้ำเราจะเห็นมวลของน้ำมารวมกันบริเวณหัวของหยดมากกว่า เพราะด้านนั้นใกล้พื้นโลก สนามความโน้มถ่วงสูงกว่า แต่ถ้าหยดน้ำนั้นอยู่ในยานอวกาศ หยดน้ำที่ลอยอยู่จะกลมสนิท เพราะสนามโน้มถ่วงเท่ากัน
ทุกด้าน น้ำแต่ละหยดจะมีมวลน้อย เมื่อมันตกลงสู่พื้นโลกซึ่งมีความโน้มถ่วงสูง มันจึงต้องพยายามไหลเข้ามารวมกันตรงหัวหยดเพื่อเพิ่มปริมาณมวล (มวลมากทำให้เวลาเดินช้า) ถ้าเราเอาลูกโป่งใส่น้ำ แล้วปั่นให้ลูกโป่งหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว จะพบว่าลูกโป่งป่องข้าง
(เหมือนโลกเราที่ป่องข้าง ก็เพราะโลกหมุน) เหตุที่ป่องข้างก็เพราะว่ามวลพยายามไปรวมกัน ตรงด้านที่ความเร็วสูงสุด คือผิวด้านข้างของลูกโป่งส่วนตรงกลางแกนหมุน (ถ้าเปรียบกับโลกก็คือขั้วโลก) ไม่มีความเร็วเลย ดังนั้น บริเวณนี้ต้องมีมวลน้อยที่สุด ถ้าหมุนลูกโป่งเร็วขึ้นๆ จะพบว่าลูกโป่งกลายเป็นดัมเบลล์รูปหยดน้ำ โดยตรงกลางเป็นจุด และถ้าเร็วกว่านั้นอีก ลูกโป่งจะฉีกขาดออกจากกันเป็น 2 ส่วนทันที ลูกโป่งสวรรค์ มวลของอวกาศมวลที่อยู่ภายในลูกโป่ง น้อยกว่าภายนอก (มวลน้อยทำให้เวลาเดินเร็ว) ดังนั้น มันจะต้องลอยขึ้นไปสู่ระดับที่มีกาล-อวกาศสมดุลกับตัวมัน (ยิ่งสูงขึ้นจากพื้นโลกเวลาบริเวณนั้นยิ่งเดินเร็ว) มันจึงต้องลอยสูงขึ้น เหมือนกับการเล่นโคมลอยยี่เป็ง เราจุดไฟไว้ใต้โคม ก็เพราะความร้อนจะทำให้เวลาภายในโคมเดินเร็วขึ้น โคมจึงต้องลอยตัวเพื่อไปสู่ระดับกาล-อวกาศใหม่ (ยิ่งสูงเวลายิ่งเดินเร็ว)

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

๖.๓
ถ้าเปรียบกับรถมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง โดยให้ผนังของถังเป็นความโค้งของอวกาศ บริเวณดาวพุธผนังของถังจะตั้งฉาก ดังนั้น มอเตอร์ไซค์
ต้องทำความเร็วสูงมากเพื่อจะได้ไม่ถูกดูดตกลงก้นถัง ในขณะที่บริเวณของโลกเรา ผนังของถัง (หรือความโค้งของอวกาศ) จะบานออกเป็นรูปตัว V และยิ่งไกลออกไป ตัว V จะชันน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงดาวพลูโตมันแทบจะบานออกเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว ทำให้ดาวพลูโตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเพียงนิดเดียวก็เพียงพอแล้วที่จะไม่ถูกดูดตกลงสู่ก้นถัง (ซึ่งเปรียบเสมือนตำแหน่งดวงอาทิตย์) และเมื่อพ้นจากดาวพลูโตออกไปผนังของถังก็จะแบนราบเป็นเส้นตรง นั่นหมายความว่า
อิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำให้อวกาศโค้งหมดไป
ในกรณีที่แม้เคลื่อนที่แล้ว ก็ยังไม่สมดุลกับกาล-อวกาศที่บิดเบี้ยวดวงดาวนั้นจะต้องหมุนรอบตัวเองด้วย เพื่อให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองช่วยทำให้เวลาบนพื้นผิวเดินช้าลงไปอีก จะได้สัมพันธ์
กับกาล-อวกาศ ณ จุดนั้น ถ้าเปรียบจากรถมอเตอร์ไซค์เป็นลูกเหล็กไต่ถังแทน จะพบว่าถ้าขณะที่หมุนรอบถัง ลูกเหล็กลูกนั้นหมุนรอบตัวเองไปด้วย มันจะสามารถทำความเร็วในการไต่ถังลดลงได้เล็กน้อยโดยที่ไม่ตกลงสู้ก้นถัง(วิเคราะห์จากกฎของนิวตันคือ มันมีโมเมนตัมเชิงมุม แต่ถ้าวิเคราะห์จากทฤษฎีของไอน์สไตน์คือ การหมุนทำให้เวลาเดินช้าลง) ดาวบนดวงที่ความหนาแน่นของมวลไม่เท่ากัน
เช่น ดวงจันทร์และดาวพุธ จะมีมวลด้านหนึ่งหนาแน่นมากกว่า มวลที่มากกว่าทำให้เวลาที่พื้นผิวด้านนั้นเดินช้ากว่าอีกด้าน เวลาโคจรรอบดาวแม่มันจึงหันด้านที่มวลมากเข้าหาดาวแม่อยู่ตลอดเวลา
(เราจึงไม่มีโอกาสได้เห็นดวงจันทร์อีกด้านหนึ่งเลย) และเอาด้านที่มวลน้อยห่างออกจากดาวแม่ เนื่องจากยิ่งใกล้ดาวแม่เวลายิ่งเดินช้า มันจึงต้องหันด้านที่มีมวลมากเข้า เพราะมวลยิ่งมากเวลาก็เดินช้าลงเช่นกัน ทำให้สอดคล้องกับกาลในบริเวณนั้น 
ดังนั้น ถ้าอยู่ๆ โลกหยุดหมุน จะเกิดสึนามิขนาดใหญ่ทั่วโลกเพราะมวลของน้ำทะเลจะพยายามรักษาความเร็วที่ทำให้เวลาเท่ากับกาล-อวกาศเดิม นั่นคือน้ำไม่หยุดด้วย

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

๖.๒
นิวตันบอกว่า วัตถุที่มีมวลจะมีแรงดึงดูดระหว่างกัน แต่ไอน์สไตน์บอกว่า เป็นเพราะวัตถุทั้งสองไปทำให้กาล-อวกาศโค้งรอบๆ ตังมัน เช่น
หย่อนลูกเหล็ก ๒ ลูกลงบนผืนใบที่ขึงตึง ลูกเหล็กลูกใหญ่จะทำให้
ผ้าใบโค้งเป็นหลุมลึกกว่า ดังนั้น ถ้าอยู่ห่างกันไม่มาก ลูกเหล็กลูกเล็ก
จะวิ่งเข้าหาลูกใหญ่ สรุปก็คือ ดาวที่มีมวลมากกว่า จะทำให้กาล-อวกาศบิดเบี้ยว ส่งผลให้เวลารอบๆ ตัวมันเดินช้าลง ในขณะที่ดาวที่มีมวลน้อยกว่า จะต้องชดเชยด้วยการใช้ความเร็วเข้าช่วย เพราะความเร็วที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เวลาเดินช้าลงเช่นนั้น เช่น ดาวพุธอยู่ใกล้
ดวงอาทิตย์มาก มันจะต้องโคจรด้วยความเร็วสูงกว่า เมื่อเทียบกับโลกที่อยู่ห่างออกมา (ยิ่งใกล้ดวงอาทิตย์ กาล-อวกาศยิ่งบิดเบี้ยว) ถ้าเรียงตามลำดับ คือ ดาวพุธ ศุกร์ โลก อังคาร และพฤหัส จะมีความเร็ว
เชิงเส้นโดยประมาณในการโคจรรอบดวงอาทิตย์คือ 50 35 30 24 และ 13 กิโลเมตรต่อวินาทีตามลำดับ ส่วนดาวพลูโตซึ่งอยู่ห่างที่สุด
โคจรด้วยความเร็วเพียง 5 กิโลเมตรต่อวินาที ช้ากว่าดาวพุธถึง 10 เท่า ดาวพุธจึงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mercury ซึ่งตั้งตามนามของเทพเจ้าแห่งความเร็ว ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ เครื่องบินที่บินด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อวินาที เวลาบนเครื่องจะเดินช้ากว่าเครื่องบินที่มีความเร็ว 5 กิโลเมตรต่อวินาที ดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ความบิดเบี้ยวของกาล-อวกาศน้อย ดังนั้น ดาวพลูโตไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่เร็ว เพียงแค่ 5 กิโลเมตรต่อวินาที ก็เพียงพอแล้ว ถ้ามากกว่านั้นมันจะทะลุกาล-อวกาศ นั่นหมายถึงการหลุดออกจากวงโคจรนั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

๖.๑ความโน้มถ่วงกับเวลา

๖.๑ความโน้มถ่วงกับเวลา

ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์บอกว่า ยิ่งมี " ความเร็วสูง " หรือ "ความโน้มถ่วงสูง" เวลายิ่งเดินช้าลง เช่น ยิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เวลาจะยิ่งเดินช้าลง หรือขึ้นยานอวกาศความเร็วสูง เวลาบนยานก็จะช้ากว่าเวลาบนโลก คนที่อาศัยบนคอนโดชั้น 2 ตามทฤษฎีแล้ว เวลาในห้องจะเดินช้ากว่าคนที่อาศัยอยู่ ณ ชั้น 20 เพราะชั้น 2 ได้รับอิทธิพลจากสนามความโน้มถ่วงของโลกสูงกว่า แรงโน้มถ่วงที่สูง เวลาที่เดินช้าลง จะทำให้สมองและร่างกายทำงานช้าลงด้วย
ถ้ามองตามทฤษฎีสัมพัทธภาพคนที่อยู่บนตึกชั้นสูง น่าจะทำงานได้ดีกว่าตึกชั้นต่ำ แต่เนื่องจากความโน้มถ่วงต่างกันน้อยมาก จนไม่มีนัยสำคัญที่จะมาคิดเช่นนี้ถ้าความโน้มถ่วงต่างจากโลกมาก เช่น บริเวณหลุมดำ นักบินที่นำยานอวกาศเฉียดเข้าเส้นขอบฟ้าของหลุมดำเพียง
1 วัน เมื่อกลับมาโลกจะพบว่าเวลาบนโลกผ่านไปแล้วนับแสนปีเลยทีเดียว ดาวบางดวงที่มีมวลมากๆ ความโน้มถ่วงสูง เวลาอาจยืดยาวกว่าบนโลก 2 เท่า ถ้ามีนักบินอวกาศไปที่ดาวดวงนั้นแล้วจะประกอบที่พัก
ซึ่ง ถ้าประกอบบนโลกใช้เวลาเพียง 1 วัน แต่ถ้าเขาประกอบดาวดวงนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 วัน เพราะจะเคลื่อนไหวร่างกายช้ากว่าบนโลก
2 เท่า สรุปแล้ว เวลาที่ยืดยาวกว่า ไม่ได้มีประโยชน์อะไรที่จะทำให้ได้งานมากขึ้นเลย ถ้ามนุษย์โลกไปวิ่งบนดวงจันทร์ แน่นอนว่าสามารถทำเวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการวิ่ง 100 เมตรเพราะดวงจันทร์มีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลกถึง 6 เท่า และแต่ละก้าวจะไปได้ไกลกว่าบนโลกมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าสมมติว่าดวงจันทร์มีบรรยากาศ
เหมือนโลก มีมนุษย์วิวัฒนาการเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ได้จริง แรงโน้มถ่วงที่น้อยจะทำให้กล้ามเนื้อของมนุษย์ดวงจันทร์อ่อนแอกว่ากล้ามเนื้อมนุษย์โลกมาก นั่นก็หมายความว่า สำหรับมนุษย์ดวงจันทร์ การวิ่ง 100 เมตรบนดวงจันทร์ ก็ใช้เวลาพอๆ กับการที่มนุษย์โลกวิ่งบนโลก แม้ว่าจะมีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าก็ตาม แต่เพราะแรงโน้มถ่วงที่น้อยทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอและปริมาณอออกซิเจนในอวกาศน้อยลงไปด้วย ซึ่งจะมีผลต่อขบวนการเมตาบอลิซึม
ผู้บรรลุญาณจะรู้ว่า สวรรค์ในชั้นพรหม เวลาเดินช้ากว่าบนโลกมนุษย์
หลายแสนเท่า ดังนั้น การเคลื่อนที่ของพรหมก็ช้ามากเป็นแสนเท่าเช่นกัน ในความรู้สึกของจิตมนุษย์ที่ได้เข้าไปสัมผัส จะสงสัยว่า ทำไมพรหมจึงนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวเลย ตรงกันข้ามกับนรก ซึ่งเวลาเดินเร็วเนื่องจากความร้อน จะมีแต่ความทุรนทุราย เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงในหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ได้อธิบายว่า ภพภูมิต่างๆมีความเร็วแสงไม่เท่ากัน
ถ้ามนุษย์เดินทางได้เร็วเท่าแสง สมองจะหยุดทำงาน แต่สติไม่หยุด ดังนั้น ยังสามารถรับรู้ปรากฎการณ์ภายนอกได้
ความโน้มถ่วงเกี่ยวข้องกับมวล ถ้ามวลมากก็ยิ่งทำให้กาล-อวกาศบิดเบี้ยวได้มาก ส่งผลให้ความโน้มถ่วงสูง ดังนั้น เวลาบนดวงจันทร์
จะเดินเร็วกว่าเวลาบนพื้นโลก ซึ่งเรียกว่า การบิดเบี้ยวของกาลเวลา
ถ้าดวงจันทร์ไม่หมุนรอบโลก ดวงจันทร์จะทนต่อการบิดเบี้ยวของเวลาไม่ได้ มันจะต้องตกลงสู่พื้นโลก (วัตถุจะตกจากบริเวณที่เวลาเดินเร็วไปหาบริเวณที่เวลาเดินช้า) เพื่อรวมมวลของมันเข้ากับมวลของโลก ให้อยู่ในกาลเดียวกัน แต่การที่ดวงจันทร์โคจรด้วยความเร็วรอบโลก ความเร็วนั้นจะทำให้เวลาบนดวงจันทร์เดินช้าลง (ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ)ซึ่งถ้าเวลาที่เดินช้าลงนั้นเท่ากับความบิดเบี้ยวของกาลที่เกิดจากความโน้มถ่วงของโลกดวงจันทร์ก็จะคงสถานะอยู่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทที่ ๖ แรงโน้มถ่วง

บทที่ ๖ แรงโน้มถ่วง

หลังจากจักรวาลเริ่มต้นด้วยการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า บิ๊กแบง สรรพสิ่งก็กระจัดกระจาย สับสนและยุ่งเหยิงอลหม่าน
และจักรวาลจะมีสภาวะที่ไร้ระเบียบไปตลอดกาล ถ้าไม่มีแรงชนิดหนึ่งที่แยกตัวออกมาแล้วทำหน้าที่ของมันอย่างมี
ประสิทธิภาพ แรงชนิดนั้นก็คือแรงโน้มถ่วงนั่นเองขณะที่เราส่องกล้องเข้าไปในจักรวาล จะพบว่าสภาวะที่ดวงดาวเกาะตัวกันเป็นกลุ่มๆ หมุนวนไปรอบๆ ที่เรียกว่า ดาราจักร (Galaxy)
นั้นดูเป็นระเบียบและสวยงามยิ่งนัก หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมดวงจันทร์จึงไม่ตกลงสู่พื้นโลก คำตอบคือ ดวงจันทร์มีความเร็วในการโคจรค่าหนึ่งที่ทำให้การตกโค้งไปพอดีกับผิวโลก เช่น ถ้าเรายิงปืนใหญ่จากหน้าผา ลูกปืนจะค่อยๆ โค้งตกลงสู่พื้นดิน แต่ถ้าเราขึ้นยานอวกาศแล้วไปยิงปืนเหนือผิวโลกมากๆ จนความโค้งในการตก พอดีกับความโค้งของผิวโลก ลูกปืนใหญ่นั้นก็จะค้างฟ้าไปตลอดกาล และเนื่องจากในอวกาศไม่มีแรงเสียดทาน ทำให้อัตราเร็วในการโคจรคงที่เสมอ เราจึงใช้ความรู้นี้มาสร้างดาวเทียม
ความจริงแล้วในอวกาศทุก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีไฮโดรเจนเฉลี่ยน1 อะตอม จะว่าไปแล้วอวกาศก็มีแรงเสียดทานอยู่บ้างแต่น้อยมากๆ โลกของเราก็เคลื่อนที่ช้าลงทุกปี มีผลทำให้เกิดการวนเข้าหา
ดวงอาทิตย์ แต่ช้ามากขนาดว่าอีกหลายพันล้านปีจึงจะชนดวงอาทิตย์
ดังนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะนำมาวิตกในเวลานี้
แสงก็ตกอยู่ภายใต้กฎข้อนี้ แสงจะโค้งเมื่อผ่านดาวที่มีแรงดึงดูด
สูง แต่แสงมีความเร็วสูงมาก คือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที
ดังนั้น ถ้าแสงผ่านดาวที่มีมวลสูงเช่นดวงอาทิตย์ แสงจะเพียงแค่แฉลบเปลี่ยนทิศทาง เหมือนเราขับรถมาด้วยความเร็วสูง
แล้วถูกแม่เหล็กขนาดใหญ่ดูด ถ้าแรงดูดไม่สูงพอ รถก็เพียงแต่เปลี่ยนทิศที่วิ่ง แต่ยังสามารถแล่นต่อไปได้ นิวตันพบว่า มวลทุกชนิด
ถ้าตกจากที่สูง วินาทีแรกจะตกลงมาได้ 9.8 เมตร แสงก็เช่นกัน เพราะแสงเป็นอนุภาค จึงถูกโลกดูดให้ตกลงมาเช่นวัตถุอื่นๆ วินาทีแรกที่ผ่านโลกมันจะถูกดูดลงมา 9.8 เมตร แต่อย่าลืมว่า ภายใน 1 วินาทีนั้น แสงไปได้ไกลถึง 300,000 กิโลเมตรแต่โลกของเรามีรัศมีเพียง 6,000
กิโลเมตร ดังนั้น ช่วงเวลาที่แสงวิ่งผ่านโลกเพียงเสี้ยววินาที มันจึงแทบจะไม่แฉลบเลย ความจริงแล้ว การใช้คำว่าแรงดึงดูดในการอธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ดูเหมือนจะไม่ถูกต้องเท่าใดนัก คำว่าแรงโน้มถ่วง น่าจะเหมาะสมมากกว่า เพราะกาล-อวกาศ ที่โค้ง จึงทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่ดูเหมือนกับเป็นแรงดึงดูด



วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

๕.๔
การเกิดสภาวะมีระเบียบเพิ่มขึ้นที่ระบบใด มันจะไปทำให้เกิด
สภาวะไร้ระเบียบเพิ่มมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือระบบใกล้
เคียง โดยสภาวะไร้ระเบียบที่เพิ่มขึ้นนั้น มากกว่าความมีระเบียบที่ได้มา ระยะเริ่มแรกของการสร้างจักรวาล จากสภาวะไร้ระเบียบ มาเป็นสภาวะที่มีดาราจักรหมุนวนเป็นกลุ่มๆ จะต้องคายพลังงานออกมามหาศาล โชดดีที่จักรวาลเรากำลังขยายตัวด้วยความเร็วสูงกว่าแสงทำให้อุณหภูมิของจักรวาลไม่สูงขึ้น
มิฉะนั้นความร้อนที่คายออกมาจะทำให้จักรวาลร้อนกว่าปัจจุบันมาก แม้ความโน้มถ่วงจะเป็นตัวจัดระเบียบจักรวาล แต่ก็ไม่มีอิทธิพลต่อการจัดระเบียบชีวิต ยังไม่มีการค้นพบทั้งในทางพุทธศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่า แรงโน้มถ่วงส่งผลต่อวิถีชีวิต
ดังนั้น หลักโหราศาสตร์พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก อังคารทับลักษณ์ จึงไม่น่าเกี่ยวข้องกับวิถีของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จะต้องวิจัยต่อไปว่า ความโน้มถ่วงมีผลต่อสมองหรือไม่ ถ้ามีผล อารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ในคืน
ที่พระจันทร์เต็มดวงกับคืนที่ไร้จันทร์ อาจจะแตกต่างกัน และตัวแปรหรือยีนตัวใดที่ควบคุมการตอบสนองของสมองต่อแรงโน้มถ่วง ถ้าศึกษาถึงขึ้นนั้น อาจเป็นไปได้ว่า ความเชื่อที่ว่าดวงดาวไม่มีอิทธิพลต่อชีวิตอาจเปลี่ยนไปนอกจากความโน้มถ่วงจัดระเบียบโครงสร้างจักรวาลแล้ว ยังจัดระเบียบเวลาในจักรวาลด้วย เนื่องจากแสงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ
แรงโน้มถ่วง และแสงเป็นตัวกำหนดเวลา ดังนั้น ในดวงดาวใหญ่ที่แรงโน้มถ่วงสูง เวลาจะเดินช้าลง สำหรับในหลุมดำ
แรงโน้มถ่วงสูงสุดจนเวลาหยุดเดิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าสู้หลุมดำเวลาจะหยุดด้วย หลุมดำทำตัวเสมือนเป็นเครื่องหยุดเวลาของจักรวาล สะสมมวลไว้เพื่อรอการระเบิดและพ่นมวลออกมาเป็นบิ๊กแบงสำหรับจักรวาลใหญ่ และค่อยเริ่มต้นนับเวลาอีกครั้ง
ถ้าจะมองตามหลักอิทัปปัจยตา ปฐมเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
อำนาจซึ่งทำให้จักรวาลเป็นไปนับบิ๊กแบงจนถึงปัจจุบัน ก็ คืออำนาจแห่งความโน้มถ่วงนั่นเอง มันทำให้เกิดดาวฤกษ์ เกิดธาตุหนักต่างๆขึ้นมา เกิดการหมุนวนของดวงดาว เกิดโครงสร้างของจักรวาล เกิดเวลา ดังนั้น ถ้านักวิทยาศาสตร์เข้าใจแรงโน้มถ่วง เหมือนกับที่ทุกวันนี้เราเข้าใจแรงแม่เหล็กหรือแรงไฟฟ้า ความลับของจักรวาลอีกมากมายมหาศาลจะถูกเปิดเผยออกมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของการทะลุมิติการเหาะเหินเดินอากาศ การข้ามเวลา ร่นระยะทาง
จากการคำนวณ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ยิ่งมิติสูงขึ้นไปแรงโน้มถ่วงยิ่งน้อยลง แรงโน้มถ่วงในมิติที่ 4 จะน้อยกว่ามิติที่ 3 และมิติที่ 5 น้อยกว่ามิติที่ 4 ดังนั้น ถ้ามีสิ่งมีชีวิตในมิติที่สูงขึ้นไป การเหาะเหิน เดินอากาศ อาจจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร และเมื่อแรงโน้มถ่วงน้อย แสงจะเดินทางได้เร็วยิ่งขึ้น ทำให้เวลาในมิติที่สูงจะผ่านไปเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับทางพระพุทธศาสนาที่บอกว่า เวลาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 1 ปีจะเท่ากับ 30,000 ปี ของโลกมนุษย์ โชดดีที่ความโน้มถ่วงของโลกทำให้ก๊าซออกชิเจนตกลงสู่พื้นในระดับที่เหมาะสม ถ้าแม้โลกมีความโน้มถ่วง
น้อยกว่านี้เพียงเล็กน้อยก๊าชออกชิเจนจะลอยตัวขึ้นสูง
สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนพื้นโลกไม่ได้ในทางตรงข้าม ถ้าโลกมีความโน้มถ่วงสูงไป ก็จะดูดก๊าชที่หนักกว่า เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไว้ที่พื้นโลกจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นมาไม่ได้อีกเช่นเดียวกัน ดังนั้น การจะหาดวงดาวที่มนุษย์สามารถไปอยู่อาศัยได้ ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย นักวิทยาศาสตร์
บางคนถึงขนาดฟันธงว่าในจักรวาลนี้ไม่มีดวงดาวใด ที่เหมือนกับโลกนี้อีกแล้ว ไม่เฉพาะแรงโน้มถ่วงที่พอดี ถ้าโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์แม้เพียง1% ของปัจจุบัน น้ำบนโลกก็จะจับตัว
เป็นน้ำแข็งไปหมด และถ้าโลกหมุนรอบตัวเองช้ากว่านี้
พิ้นผิวโลกฝั่งที่โดนแสงอาทิตย์ จะร้อนขนาดทำให้น้ำกลายเป็นไอ จะเห็นได้ว่า เป็นความพอดีที่เหลือเชื่อจริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

๕.๓
ในครั้งแรกของการค้นพบหลุมดำ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เองก็
ไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปได้ เพราะหลุมดำทำตัวผิดกฎของจักรวาล ทุกสิ่งในจักรวาลควรจะยุ่งเหยิงมากขึ้นๆ แต่หลุมดำกลับทำให้สิ่งต่างๆ มารวมกัน เปรียบเสมือนไข่ที่ตกแตกกระจายลงพื้นถูกดูดกลับให้ชิ้นส่วนต่างๆ มารวมกันเป็นไข่ใบเดิมได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับจักรวาล หลังจากระเบิดเป็นบิ๊กแบง
ก็เปรียบเสมือนไข่ที่แตกแล้ว แต่หลุมดำทำหน้าที่รวบรวมมวลที่กระจัดกระจายนั้นกลับมาอีกครั้งเพื่อให้เหมือนกับเมื่อครั้งก่อน
เกิดจักรวาล แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าภายในหลุมดำน่าจะมีความไร้ระเบียบสูงที่สุด เพราะมันฉีกสิ่งต่างๆ เข้ามารวมกันไว้ที่ตัวมัน (ลองเปรียบเทียบการฉีกหนังสือในห้องสมุดทั้งหมดแล้วขยำรวมกันเป็นก้อนเล็กๆ) ดังนั้น ขนาดที่เล็กลง ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบมากขึ้นเสมอไป
การที่ไฮโดรเจน 2 อะตอมมารวมกันเป็นฮีเลียม อะตอมจะใหญ่ขึ้น นิ่งขึ้น ความไร้ระเบียบลดลง แต่มันก็ต้องคายพลังงาน
ออกมาจำนวนมหาศาล เพื่อไปทำให้สิ่งแวดล้อมยุ่งเหยิงแทน เช่น ดวงอาทิตย์เรากำลังเกิดปฎิกิริยานี้อยู่ จึงปล่อยความร้อน
ออกมาได้อยู่ตลอดเวลาทำให้โลกเกิดวิวัฒนาการ มีอนิจจัง 
ทุกขัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ โลกก็จะเป็นเพียงดวงดาวที่เย็นชืด เงียบสนิท ดวงหนึ่ง เท่านั้น หรือจะสรุปง่ายๆ ว่า ความยุ่งเหยิงของดวงอาทิตย์ที่ลดลงจากปฎิกิริยาฟิวชั่น
ส่งผลมาทำให้โลกเกิดความยุ่งเหยิงมากขึ้นก็ได้ สักวันหนึ่ง
เมื่อดวงอาทิตย์หมดพลัง มันก็หดตัวกลายเป็นดาวเเคระขาวที่ยิ่งมีระเบียบมากขึ้นไปอีก มวลสารจะมีความเป็นระเบียบ
สูงกว่า พลังงาน ตามสูตร E=mc2 แสดงให้เห็นว่ามวล
(M) สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงาน (E) ได้ หลังจากที่เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นเรียบร้อย ความเป็นระเบียบของอะตอมมากขึ้น แต่มันก็จะไปเพิ่มความไร้ระเบียบให้กับสิ่งแวดล้อม แล้วการแปลงมวลสารส่วนหนึ่งไปเป็นพลังงานความร้อน ขณะนี้ทุกๆ 1 วินาที
จะมีมวลสารบนดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปเป็นพลังงานถึงประมาณ 200 ล้านตัน ตัวเราเองก็เช่นกัน ที่คงสภาวะความมีระบบ
ระเบียบ เติบโตจนสูงใหญ่ขึ้นมาได้ ก็ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม
ไปมากมาย เช่น พืช ผัก หมู เห็ด เป็ด ไก่ ที่รับประทานเข้าไป แล้วถูกย่อยสลายจนอยู่ในสภาพไร้ระเบียบ ชีวิตหนึ่งเกิดมา ก็ต้องทำลายอีกหลายๆชีวิต เพื่อสร้างความมีระเบียบให้กับ
ตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเสียชีวิตลง มนุษย์ก็จะคืนความไร้ระเบียบกลับไปใหสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยสรุปก็คือ จักรวาลโดยรวมจะมีทิศไปในทางที่ไร้ระเบียบมากขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับการค้นพบของพระพุทธองค์ว่า "สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง"

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

๕.๒
ความไร้ระเบียบของระบบเป็นตัวกำหนดเวลา เช่น ถ้ามีรูปภาพ
๒ รูป รูปที่ ๑ เป็นแก้วที่แตกเป็นชิ้น รูปที่ ๒ เป็นแก้วใบเดียวกันที่สมบูรณ์ดี เราจะบอกได้ทันทีเลยว่า รูปแก้วที่แตกจะต้องถ่ายทีหลัง เป็นไปไม่ได้ที่แก้วแตกจะเกิดขึ้นก่อน แล้วรวมตัวกัน
เชื่อมเป็นแก้วที่สมบูรณ์ นั่นก็เพราะเรารู้ว่า จักรวาลมีทิศทาง
ไปข้างหน้าพร้อมกับความไร้ระเบียบที่เพิ่มขึ้นเสมอ
การที่ความโน้มถ่วงเข้ามาจัดระเบียบจักรวาล จึงสวนทิศทาง
ของธรรมชาติ ดังนั้น ทุกครั้งที่จัดระเบียบจะต้องมีการคายพลังงานออกมา พลังงานตัวนี้จะไปทำให้ระบบภายนอก
ยุ่งเหยิงมากขึ้น เช่นเดียวกับตู้เย็นสามารถทำให้น้ำกลาย
เป็นน้ำแข็งซึ่งมีระเบียบมากขึ้น แต่คอมเพรสเซอร์
จะดูดความร้อนไปปล่อยออกนอกตู้ ทำให้ด้านนอกร้อน
และยุ่งเหยิงมากขึ้น จักรวาลมีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่ความยุ่งเหยิงหรือไร้ระเบียบมากขึ้นเสมอ ห้องที่ถูกทิ้งไว้จะรกขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อไรที่มีการจัดห้อง ถือว่าเป็นการสวนทิศของจักรวาล แต่อย่างไรก็ตาม การจัดห้องจะต้องใช้พลังงาน เช่น 
จัดห้องเสร็จ ต้องไปทานอาหาร ซึ่งไปทำให้อาหารย่อยสลาย
และยุ่งเหยิงมากขึ้น จากชิ้นเนื้อ ผัก เป็นต้น ข้าวเป็นเมล็ดกลับกลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่วุ่นวายสับสน ดังนั้น การจัดห้องแม้จะทำให้ห้องเป็นระเบียบมากขึ้น แต่ก็ไปทำให้อาหารไร้ระเบียบ
เมื่อรวมกันแล้วการ ไร้ระเบียบในจักรวาลจะเกิดขึ้นมากว่า
จิตก็เช่นกัน จะมีความยุ่งเหยิง ไร้ระเบียบขึ้นเรื่อยๆ เมื่อฝึกปฎิบัติสมาธิวิปัสสนา จิตเป็นระเบียบมากขึ้น แต่ก็ต้องสูญเสีย
กำลังสติไปกับการจัดระเบียบนั้น จะต่างกันก็แต่ความยุ่งเหยิงทาง กายภาพเกิดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น แต่ความยุ่งเหยิง
ภายในจิตเกิดจากความร้อนรุ่ม อันเนื่องมาจากกิเลส ตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ 
การสวนทิศกฎข้อนี้ของจักรวาลต้องใช้พลังงานสูงมาก เช่นที่มี
คำพูดอมตะประโยคหนึ่งที่ว่า "กรุงโรมไม่สามารถสร้างในวันเดียว แต่สามารถทำลายได้ภายในวันเดียว" นั่นก็เพราะการสร้างใหมีระเบียบเป็นการสวนกระแสแห่งจักรวาล ส่วนการทำลายให้ไร้ระเบียบมากขึ้นเป็นสิ่งที่จักรวาลต้องการอยู่แล้ว 
เหมือนกับไข่ฟองหนึ่งกว่าแม่ไก่จะสร้างขึ้นมาได้ต้องใช้เวลา
นับสัปดาห์ แต่เมื่อมันตกถึงพิ้นก็จะกระจายภายใน
เสี้ยววินาที และถ้าใครที่คิดจะรวบรวมไข่ที่ตกแตกแล้ว
มาทำให้เป็นไข่ ฟองเหมือนเดิม ต้องใช้พลังงานและความพยายามอย่างมหาศาลจนเรียกได้ว่าทำไม่ได้เลย เพราะทุกโมเลกุลกระจัดกระจายเกินกว่าจะรวบรวม

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

๕.๑ ถ้าเทียบอิทธิพลของดวงดาวคือความโน้มถ่วง เจ้าพ่อในจักรวาล
ก็คือดาวที่มีความโน้มถ่วงสูงกว่าดาวดวงอื่น แล้วดึงให้ดาวลูกหมุนโคจรอยู่รอบๆ ในระบบสุริยะเรามีดวงอาทิตย์เป็นผู้มีอิทธิพล แต่ดวง
อาทิตย์เองก็ต้องไปสวามิภักดิ์โคจรรอบหลุมดำ ในดาราจักรทางช้างเผือกจึงมีการหมุนวนย่อยๆ อยู่เต็มไปหมด แต่การหมุนวนที่เป็นหลักใหญ่ก็คือ การหมุนแบบย่อยๆทั้งหมดต้องโคจรรอบๆ หลุมดำที่อยู่เป็นแกน ณ จุดกึ่งกลางของดาราจักร
สมมติว่า ดวงอาทิตย์เป็นส้มโอที่วางบนผ้ายางขึงตึง จนเป็นรอยบุ๋มลงไป ถ้าดีดลูกแก้วเข้าไปจะพบว่า ลูกแก้วจะค่อยๆ หมุนวนรอบรอยบุ๋มนั้น แล้วเข้าไปหาส้มโอในที่สุด คำถามคือว่า แล้วทำไมโลกจึงไม่หมุนวนเข้าหาดวงอาทิตย์ นั่นก๊เพราะว่า ขณะที่ลูกแก้วหมุนจะถูกแรงเสียดทานจากพื้นทำให้ความเร็วตกลงเรื่อยๆ จึงหล่นเข้าหาส้มโอ แต่ในอวกาศไม่มีแรงเสียดทาน ความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตยืไม่ตก ทำให้โลกหมุนอยู่ในระดับเดิมอยู่ตลอด
ภายในระบบสุริยะของเรา ดาวพฤหัสทรงอิทธิพลที่สุด ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของมัน ทำให้ความโน้มสูง กาล-อวกาศบริเวณนั้นบิดเบี้ยวเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นผลดีโดยตรงต่อโลกของเรา
ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์วงนอก ขณะที่โลกเราอยู่วงใน
ดังนั้น เมื่อมีอุกกาบาตขนาดใหญ่ลอยเข้ามา จะถูกแรงโน้มถ่วง
จากดาวพฤหัสเหวี่ยงออกไป หรือไม่ก็ถูกดูดให้ตกลงที่พื้นผิว
ดาวพฤหัสเสียเอง อุกกาบาตขนาดใหญ่จากนอกระบบสุริยะจึงไม่สามารถเข้ามาทำร้ายดาวเคราะห์วงในได้ง่ายๆนัก อุกกาบาตใหญ่
สุดถูกสุดท้ายที่ตกลงสู่โลกคือ เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ซึ่งครองโลกมานานกว่า 100 ล้านปีสูญพันธุ์ทั้งหมด
หลังจากนั้นโลกก็สงบสุข จนมีมนุษย์ขึ้นมาครองโลกแทนเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา ถ้าเทียบกับช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์สามารถครองโลกได้นับ 100 ล้านปีก่อนจะสูญพันธุ์ ซึ่งยาวนานมาก คำถามคือว่า มนุษย์สามารถทำลายสถิตินั้นได้หรือไม่